Editorial/Article
Hot News: สงคราม 'BACK TO SCHOOL'
http://www.tviclick.com
Home Page iClick News.com
Home
Print this webpage
Print
English Version
English

บทบรรณาธิการ
สงคราม 'BACK TO SCHOOL'
คัมแบ็ครับเปิดเทอมกับโปรโมชั่นแรงๆ ทุกแบรนด์ ทุกสินค้า ทั้งแบรนด์อินเตอร์ โลเคิล หนังสือเรียน เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และอุปกรณ์การเรียน
ปีมังกรทอง จะเห็นได้ว่าธุรกิจเกี่ยวกับอุปกรณ์การเรียน หนังสือ เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า ต้องลอนช์โปรแรงๆ ให้โดนใจลูกค้า ทุกวัย ทุกกลุ่ม
ด้านราคาสินค้า คาดว่าแบรนด์ส่วนใหญ่คงไม่กล้าปรับราคาขึ้นมากนัก เนื่องจากเศรษฐกิจโดยรวมยังชะลอตัว
สำหรับผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอม คงต้องเร่งหาเงิน มาใช้จ่าย ในช่วงเปิดเทอม ทั้งเงินสด บัตรเครดิต และบัตรเดบิต เป็นต้น
ครอบครัวบางราย อาจมีปัญหาเงินไม่พอ คงต้องใช้บริการเสริม ทั้งโรงรับจำนำ หรือกู้เงินนอกระบบ เพื่อหาเงินมาจับจ่ายในช่วงนี้
เกจิวงการเงิน คาดว่าเม็ดเงินในช่วงเปิดเทอม คงสะพัดนับพันล้านบาท เนื่องจากมีธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษามากมาย ทั้งโรงเรียน มหาวิทยาลัย ระบบในประเทศและอินเตอร์
BACK TO SCHOOL 2024 คนไทยส่วนใหญ่ที่มีลูก หลาน อยู่ในวัยเรียน คงเหนื่อยกว่าช่วงอื่นๆ ในรอบปีนี้
ดังนั้น การบริหารจัดการด้านการเงิน แต่ละครอบครัว ต้องรอบคอบ และคุ้มค่าสุดๆ ในยุคที่เศรษฐกิจยังซบเซา ...ที่แน่ๆ อย่าไปหวังพึ่งเงินนอกระบบให้มากไป เพราะดอกเบี้ยโหดมาก หากหาเงินมาคืนไม่ทัน รับรองเครียดกันทั้งครอบครัว

editorial@iclicknews.com


บทความวิชาการ
โจรไซเบอร์ ยุคดิจิทัลอาละวาด
โจรกรรม "ผลงานและข้อมูลส่วนบุคคล"

อ. กฤติกา นพรัตน์

ในยุคดิจิทัล ทุกวงการในประเทศไทย ทั้งด้านวรรณกรรม งานศิลปะ ภาพยนตร์ วิทยุและโทรทัศน์ออนไลน์ เกมออนไลน์ และอีกมากมาย ต้องเผชิญปัญหาการโจรกรรมในโลกอินเตอร์เน็ต ทั้งสื่อใหม่ New Media และสื่อสังคม Social Media
เนื่องจากปัจจุบันมีโจรไซเบอร์ทั่วโลก ออกอาละวาด โจรกรรมผลงานศิลปะ ภาพยนตร์ วิทยุและโทรทัศน์ออนไลน์ เกมออนไลน์ และข้อมูลส่วนบุคคลโดยไร้จริยธรรม ทั้งกลุ่มคนรุ่นใหม่ คนทำงานและผู้สูงอายุ
แบล๊ค สตีลและบาร์นีย์ กล่าวว่า คำว่า ethics มาจากคำว่า ethos ในภาษากรีก หมายถึง คุณลักษณะของบุคคล หรือลักษณะการกระทำของเขาที่ทำให้เขาเป็นคนดี จริยธรรมเป็นปรัชญาแขนงหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการคิดเชิงศีลธรรม หรือคิดปัญหาทางศีลธรรม หรือตัดสินเชิงศีลธรรม
ศ.เกียรติคุณ สุกัญญา สุดบรรทัด ได้ให้ความหมาย คำว่า จริยธรรม (ethics) หมายถึง บุคลิกภาพ หรือสิ่งที่คนดีประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะได้มีบุคลิกภาพที่ดี แต่โดยทั่วไปแล้ว จริยธรรมจะมีพื้นฐานทางด้านปรัชญาที่ว่าด้วยการตัดสินใจของมนุษย์ที่จะเลือกระหว่างความดีกับความชั่ว คำว่า ศีลธรรม (Morality) มาจากภาษาละติน หมายถึง วิธีการประพฤติปฏิบัติของมนุษย์ ดังนั้น ศีลธรรม จึงมีความหมายถึง ประเพณีปฎิบัติที่สังคมให้ความยอมรับ หรือหมายถึงการปรับใช้จริยธรรมในชีวิตจริง
จริยธรรมของนักวารสารศาสตร์ออนไลน์ (Online Journalist) 1.ต้องยึดถือข้อเท็จจริง ความถูกต้อง แม่นยำและครบถ้วน 2.นำเสนอข้อมูลข่าวสารเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั่วไป โดยไม่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวหรือหมู่คณะ 3.นำเสนอข้อมูลข่าวสาร โดยไม่แต่งเติมเนื้อหาสาระของข่าว ไม่แสดงความคิดเห็น 4.ต้องละเว้นการนำเสนอข่าว เพราะความลำเอียงหรือมีอคติ 5.การนำเสนอข้อมูลข่าวสารจากสื่ออื่น หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ ต้องระบุที่มาของข่าว ภาพ หรือคลิป วีดิโอ 6.การนำเสนอข่าวที่มีการพาดพิง อาจเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นหรือองค์กรใดๆ ต้องให้โอกาสฝ่ายที่ถูกกล่าวหาแสดงถึงข้อเท็จจริง
7.การนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ภาพ คลิป วีดิโอ การถ่ายทอดสดแบบสตรีมมิ่ง (LIVE) ผิดพลาด หรือละเมิดบุคคลอื่น ต้องลงแก้ไขข้อผิดพลาดโดยด่วน 8.การนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ต้องระบุชื่อ นามสกุล ผู้ให้ข่าว เว้นแต่เพื่อความปลอดภัยของแหล่งข่าว 9.การนำเสนอข่าว หรือภาพ จะต้องไม่ละเมิดศักด์ศรีของความเป็นมนุษย์ เด็ก สตรีและผู้ด้อยโอกาส 10.ต้องไม่นำเสนอภาพข่าว คลิป วีดิโอ การถ่ายทอดสดแบบสตรีมมิ่ง (LIVE) ที่ดูอุจาด ลามกอนาจาร หรือหวาดเสียว
Steve Hill # Paul Lashmar. 2014. p.145 สื่อ สังคมออนไลน์เปลี่ยนกฎของสื่อมวลชน และบรรณาธิการที่เปรียบเสมือนเป็นนายประตูข้อมูลข่าวสาร ผู้อ่าน คือ ผู้บริโภคเนื้อหา สื่อมวลชน คือ ผู้ผลิตเนื้อหา บรรณาธิการเป็นผู้คัดเลือกเนื้อหาและควบคุมคุณภาพ ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ อยู่ระหว่างกฎที่แตกต่างในช่วงเวลาที่แตกต่าง เคนท์ เวอร์ทาม และ เอียน เฟนวิกค์ (Kent Wertime and Ian Fenwick) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับสื่อใหม่ (New Media) และการตลาดดิจิทัล และนิยามสื่อใหม่ว่าหมายถึง เนื้อหา (content) ที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล โดยลักษณะ
แม็คเค Mac Kay : 1969 สรุปเกี่ยวกับทฤษฎีสารสนเทศ Information Theory ว่า ข่าวสารเป็นกลไกของการสื่อสาร โดยเฉพาะการสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถตัดข้ามผ่านพื้นที่ทางกายภาพ
สื่อใหม่ (New media) หมายถึง สื่อที่เอื้อให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารทำหน้าที่ส่งสารและรับสารได้พร้อมกันเป็นการสื่อสารสองทาง และสื่อยังทำหน้าที่ส่งสารได้หลายอย่างรวมกัน คือ ภาพ เสียง และข้อความไปพร้อมกัน โดยรวมเอาเทคโนโลยีของสื่อดั้งเดิม เข้ากับความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสัมพันธ์ ทำให้สื่อสามารถสื่อสารได้สองทางผ่านทางระบบเครือข่ายและมีศักยภาพเป็นสื่อแบบประสม (Multimedia) (Burnett, R. and Marshall D. P. 2003: 40-41)
ประเภทของสื่อใหม่ คือ รูปแบบเนื้อหาแบบดิจิทัลที่พบเห็นในปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่าจะมีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต โดยสื่อใหม่แต่ละประเภทมีความโดดเด่นและแตกต่างกันตามประโยชน์และวัตถุประสงค์ในการใช้สื่อประเภทสื่อใหม่ สามารถสรุปได้ดังนี้ 1) เว็บไซต์ (Web site) 2) อินเทอร์เน็ต (Internet) 3) อีเมล (E-mail) 4) เทคโนโลยีสำหรับอุปกรณ์พกพาหรือแพลตฟอร์มเคลื่อนที่ (Mobile Platform) 5) วิดีโอเกม และโลกเสมือนจริง 6) ซีดีรอมมัลติมีเดีย 7) ซอฟต์แวร์ 8) บล็อกและวิกิพีเดีย 9) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) 10) ตู้ให้บริการสารสนเทศ 11) โทรทัศน์โต้ตอบ 12) อุปกรณ์พกพาหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น โทรศัพท์มือถือ พีดีเอ พอดแคสต์ 13) นวนิยายแบบข้อความหลายมิติ (Hypertext fiction)
รายงานของบริษัท Resecurity ระบุว่าเฉพาะเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 มีข้อมูลที่ใช้ระบุตัวบุคคลได้ (Personal Identifiable Information: PII) ของคนไทยเกือบ 20 ล้านชุดข้อมูลรั่วไหลและถูกประกาศขายบนฟอรัมซื้อขายข้อมูลผิดกฎหมาย
ตัวอย่างข้อมูลที่รั่วไหลและถูกนำมาประกาศขาย มีทั้งข้อมูล ชื่อ-นามสกุล เลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ อีเมล รวมถึงรูปถ่ายหน้าตรง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่ละเอียดอ่อนและมีความเป็นส่วนตัวสูง เช่น ข้อมูลเงินเดือน รวมถึงภาพของบุคคลที่กำลังถือบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรประชาชนด้วย
Resecurity รายงานว่า หนึ่งในข้อมูลชุดใหญ่ที่สุดที่มีการรั่วไหลในปีนี้ คือข้อมูลจำนวนกว่า 19.7 ล้านแถว จากกรมกิจการผู้สูงอายุ มีข้อมูลจากประเทศไทยเกือบ 20 ล้านชุดข้อมูล จาก 5 แหล่งที่มา รั่วไหลและถูกประกาศขายอยู่ในฟอรัมซื้อขายข้อมูลผิดกฎหมายในเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา โดยข้อมูลทั้งหมด ล้วนเป็นข้อมูลที่ใช้ระบุตัวบุคคลได้ (PII) ประกอบด้วย ชุดข้อมูลที่อ้างว่าเป็นข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลและประวัติคำสั่งซื้อจากศูนย์หนังสือจุฬาฯ จากผู้ใช้งานจำนวน 160,000 ราย ข้อมูลที่อ้างว่าเป็นข้อมูลส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ในกองทัพเรือจำนวนกว่า 45,000 นาย ข้อมูลจากเว็บไซต์ของเอกชน อาทิ ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้จาก Phyathai.com กว่า 25,500 ชุดข้อมูล ข้อมูลส่วนตัวของผู้ลงทะเบียนหางานทางออนไลน์กว่า 61,000 ชุดข้อมูล
นายไซมอน พิฟฟ์ รองประธานฝ่ายวิจัย ไอดีซี เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า การรักษาความปลอดภัยระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่ทันสมัย ต้องอาศัยความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการเฝ้าระวัง มีการดำเนินการเชิงรุก และสามารถปรับตัวรับความท้าทายจากการทำงานแบบไฮบริด AI และการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากการควบคุมการทำงานแบบเดิม เป็นการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่เน้นเรื่องความเสี่ยง
เมื่อมีโจรไซเบอร์เกิดขึ้นทั่วโลก แต่ละประเทศมีการใช้กฎหมายควบคุมดูแลแตกต่างกันไป ประเทศไทยเองมีการออกกฎหมายที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ เพื่อยับยั้งการเติบโตของเหล่ามิจฉาชีพทั้งหลาย
มาตรา ๔ พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่
(๑) การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น
(๒) การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ ซึ่งรวมถึง ความมั่นคงทางการคลังของรัฐ หรือการรักษาความปลอดภัยของประชาชน รวมทั้งหน้าที่เกี่ยวกับ การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน นิติวิทยาศาสตร์ หรือการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
(๓) บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำการเก็บรวบรวมไว้เฉพาะ เพื่อกิจการสื่อมวลชน งานศิลปกรรม หรืองานวรรณกรรมอันเป็นไปตามจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ หรือเป็นประโยชน์สาธารณะเท่านั้น
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ปี 2560 มีดังนี้
มาตรา 14 ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
(2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4) ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง (1) มิได้กระทําต่อประชาชน แต่เป็นการกระทําต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ผู้กระทํา ผู้เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้เป็นความผิดอันยอมความได้
ดังนั้น แม้จะมีโจรไซเบอร์เจาะข้อมูลส่วนบุคคลไปอย่างไม่มีจริยธรรม หรือคัดลอกผลงาน เนื้อหา ภาพ คลิปวิดีโอ หรืองานศิลปะ โดยไม่ขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ กระทำไปเพื่อประโยชน์ของตัวเอง บุคคลที่เสียหายสามารถดำเนินการตามกฎหมายได้ทันที เนื่องจากมีกฎหมายหลายฉบับที่ออกมาคุ้มครองดูแลประชาชนทั่วไป
หนังสือ เอกสาร และเว็บไซต์อ้างอิง
พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2565 พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2560 ดรุณี หิรัญรักษ์. (2558) จริยธรรมสื่อ (Media Ethics) กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์
วนิดา ขำเขียว. (2563). สุนทรียศาสตร์ (AESTHETICS). กรุงเทพฯ : พรานนกการพิมพ์.
ไพโรจน์ ชมุนี. (2561). สุนทรียศาสตร์ ตะวันตก Western Aesthetics. กรุงเทพฯ: โครงการตำราฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ และคณะ. (2547). สุนทรียนิเทศศาสตร์ : การศึกษาสื่อสารการแสดงและสื่อจินตคดี.พิมพลักษณ์ กรุงเทพฯ : ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์.
Mass Media Law. ชื่อผู้แต่ง Don R. Pember. สำนักพิมพ์ McGraw-Hill Higher Education ปีที่พิมพ์ ค.ศ.2003. กำจร สุนพงษ์ศรี. (2556). สุนทรียศาสตร์: หลักปรัชญา ศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปวิจารณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กีรติ บุญเจือ. (2551). คู่มือจริยศาสตร์ตามหลักวิชาการสากล. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิง คุณธรรม.
ชัชชัย คุ้มทวีพร. (2541). จริยศาสตร์: ทฤษฎีและการวิเคราะห์ปัญหาจริยธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เจนเดอร์เพรส.
ณัฐนันท์ ศิริเจริญ. (2552). สุนทรียศาสตร์เพื่อนิเทศศาสตร์. พิมพลักษณ์ สมุทรปราการ : โครงการสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
ปกรณ์ สิงห์สุริยา, ชาญณรงค์ บุญหนุน และคณะ. (2559). สร้างแผนที่จริยศาสตร์. ใน สุวรรณา สถาอานันท์ (บรรณาธิการ). ชุดโครงการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: วิภาษา.
พิรงรอง รามสูต. (2557). การกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ พัฒน์ใหญ่ยิ่ง และคณะ. (2558). จริยศาสตร์ (Ethics). กรุงเทพฯ: ธรรมะอินเทรนด์.
มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2559). การกำกับดูแลเนื้อหาของสื่อใหม่ (โครงการศึกษาวิจัยการ ปฏิรูปสื่อ เล่มที่ 5). กรุงเทพฯ: สานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ.
วิรุณ ตั้งเจริญ. (2552). สุนทรียศาสตร์เพื่อชีวิต. กรุงเทพฯ: ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต.
อารี สุทธิพันธุ์. (2532). ประสบการณ์สุนทรียะ (หนังสือชุดทัศนศิลป์ 7). กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.
https://techsauce.co/news/thai-people-have-20-million-sets-of-data-leaked-on-the-dark-web
www.bbcThai.com
www.thansettakij.com/news/582340

iclickgroup@iclick.co.th


[ENGLISH] 
พันธมิตรสึ่อ

Online NewsTime       The Nice Brand.com

  --  
iClickNews.com